vSAN File Services

Phubet Pramuean
3 min readApr 3, 2020

--

สวัสดีครับ แนะนำตัวกันก่อน (อีกครั้ง เผื่อใครไม่ได้อ่าน blog ที่แล้ว ฮา) ผมชื่อ. ภูเบศวร์ ประเหมือน ชื่อเล่นว่า ปอนด์ ครับ ปัจจุบันทำงานที่ VMware Thailand ตำแหน่ง Solutions Engineer Specialist / HCI Business Unit โดยดูแล Product vSAN และ VMware Cloud Foundation (VCF) ของ VMware ครับ

vSAN 7 Features Enhancement

จาก blog ที่แล้วเรามีการคุยกันเรื่อง Features ใหม่ของ vSAN ไปทั้งหมด 3 อย่าง คือ

  • vSphere Life Cycle Manager (vLCM)
  • vSAN File Services <- มาคุยกันใน blog นี้
  • Enhanced Cloud Native Storage

วันนี้ก็เลยอยากจะมาคุยเพิ่มในส่วนของ use case ที่เราจะสามารถนำ vSAN File Services ไปใช้งานได้ พร้อมทั้งวิธีเปิดใช้งาน

File Services

ก่อนหน้านี้ถ้าเราจะใช้ File Services ในระบบของ VMware แบบแรกเท่าที่นึกกันได้ก็คือสร้าง VM ขึ้นมาแล้วก็ติดตั้ง OS เข้าไป ถ้าเป็น CIFS/SMB ส่วนใหญ่ก็จะติดตั้ง Windows OS แล้วก็ Share Folder กัน แต่ถ้าในระบบเป็น Linux ก็จะใช้การ Share File ผ่าน NFS กัน อันนี้ก็ไม่ค่อยมีปัญหาอะไรทำงานด้วยกันได้อยู่แล้ว แบบที่ 2 คือซื้อ NAS Storage มาใช้ในการ Share File เป็นเรื่องเป็นราวเลย ซึ่งก็มีหลาย Vendor ให้เลือกกันตั้งแต่ Commercial ไปจน Enterprise Level โดย VMware มีแบบรองรับให้ Storage Vendor หลายๆ ราย สามารถนำ Virtual Appliance มาใช้งานในระบบ Virtualize ของ VMware ได้ตามรายชื่อด้านล่างนี้เลย

vSphere File Services Compatibility

ในแต่ละ Storage Vendor ก็จะมีจุดเด่นที่แตกต่างกันไปเลือกใช้กันได้ครับ (จังหวะนี้ Sponsor ต้องเข้าละ ฮา) แต่ถ้าเราแค่อยากได้ File Share Service เฉยๆ หละ ไม่อยากยุ่งอยากหละ แล้วเราใช้ vSAN 7 อยู่แล้วหละ เราสามารถ Enable Feature File Services ขึ้นมาได้ง่ายๆ เลยครับ

vSAN File Services

vSAN File Services

เราสามารถเปิด vSAN File Services ได้ง่ายๆ เหมือนแค่ Turn On HA หรือ DRS Features ใน VMware โดยใน Version 1.0 ของ vSAN File Services จะให้บริการผ่าน NFS 4.1 และ 3 ก่อน (SMB/CIFS จะตามมาใน Version ถัดๆ ไปครับ ใจเย็นๆ) แล้ว vSAN File Share มันมี Features อะไรบ้าง ตามนี้เลย

  • Integrated with Hypervisor ไม่ต้องติดตั้ง OS หรือ Virtual Appliance อื่นๆ ให้ยุ่งยาก
  • ระบบ vSAN File Share จะทำการ Load Balance ข้อมูลไปยังทุก Node ใน Cluster ให้อัตโนมัติ
  • Access Control List (ACL) เพื่อกำหนด IP ของ Client ที่จะเข้ามาใช้งาน File Share ได้
  • สามารถกำหนด Quota ให้กับ File Share ได้
  • รองรับการใช้งานเป็น Cloud Native Storage (CNS) ให้กับ Kubernetes Cluster ได้

มาๆ มาดูวิธี Setup vSAN File Services กัน

Setup vSAN File Services

แน่นอนว่าต้องมี vSAN Cluster ก่อนนะ(ฮา) ให้แน่ใจด้วยว่า vSAN ของเราเป็น version 7 แล้ว หลักการของ vSAN File Services คือ vSAN จะสร้าง Container ที่ให้บริการ File Services ขึ้นมา โดย Default คือ 3 Instant และสามารถ Scale-out ได้ถึง 8 ตามจำนวน vSAN Node ใน Cluster นั้นๆ ถ้าเรามี vSAN 3 เครื่อง มันก็จะสร้าง 3 Instant สิ่งที่ต้องเตรียม

  • Unique IP Address ที่ไม่ซ้ำ ตามจำนวนที่ต้องสร้าง 3–8 ip
  • DNS Server ที่ทำ Forward, Revers name ไว้แล้ว และ DNS Suffix ด้วย
  • Subnet และ Gateway
  • File Service Domain เป็นชื่อของ File Server

แล้วก็ Follow ตาม Video นี้เลย ทีมเราทำไว้ให้ดูแล้ว (สบาย)

ทำเสร็จแล้วก็ไปยังขั้นตอนถัดไปกัน

Configure a Share on vSAN File Services

พอเราเปิด File Services เสร็จแล้ว ก็มา Configure Share กัน ให้นึกว่ามันเหมือนการสร้าง Share Folder แหละนะ สิ่งที่ต้องทำต่อก็คือ

  • Share name คือชื่อของ Folder ที่จะแชร์ แนะนำว่าตั้งให้สื่อถึงเรื่องที่จะนำไปใช้งาน
  • เลือก Storage Policy หรือ RAID Protection ให้กับ Share นั้นๆ
  • กำหนด Soft quota, Hard quota ซะ โดย Soft quota คือการ Warning เมื่อ Capacity ขึ้นไปถึงตามที่ตั้งค่าไว้ Hard quota คือ Limit ของ Share นี้
  • กำหนด ACL กับสิทธิ์ในการอ่านเขียนให้กับ Share นี้ด้วย
  • สามารถใส่ Tag เพิ่มเพื่อช่วยในการค้นหาได้ด้วย ทำไว้ก็ดี เผื่อมันมี Share เยอะๆ หาไม่เจอจะได้ Search หาได้

แล้วก็ไปทำตามคลิปนี้กัน

พอสร้าง Share เสร็จแล้วในขั้นตอนสุดท้ายก็คือสามารถ Copy link ที่จะ Access เข้า Share นั้นๆ ไปใช้ได้เลย แต่ Client ที่จะเข้าได้ต้องถูกกำหนดไว้ใน ACL แล้วนะ

Upgrading vSAN File Services

ขั้นตอนการ Upgrade File Services ก็ง่ายมาก vSAN จะมีการคอยตรวจสอบอยู่แล้วว่ามี Firmware version ใหม่มารึยัง หากมีแล้ว vCenter ก็จะ Download OVF ไฟล์นั้นๆ มาให้อัตโนมัติ ใครกังวลเรื่อง Security สามารถตั้ง Proxy ขวางก่อนถึง VC ได้นะ ที่พูดมาหมายความว่า vSAN Cluster เราต้องมี Internet Connectivity นะ แต่ถ้าไม่มีเราก็สามารถ Manual Download OVF ไฟล์มา Upgrade เองได้ มาดูวิธีการ Upgrade กัน

ง่ายมากผู้ใช้งานไม่ต้องไปยุ่งอะไรเลย ระบบจัดการหลังบ้านให้หมด

Use Cases

เอาไว้ท้ายสุดเลย ต้องบอกก่อนว่าจุดประสงค์หลักที่ VMware ทำ File Services ขึ้นมานั้นคือต้องการนำมาใช้เป็น Cloud Native Storage ของ Kubernetes เป็นหลัก เพราะ VMware Cloud Foundation 4 (VCF) นั้น เรามี vSphere Add-on Kubernetes ที่สามารถสร้าง Kubernetes Cluster ได้แบบ Native บน vSphere เลย แล้ว vSAN ก็จะกลายเป็นพื้นที่เก็บ Persistant Volume ให้กับ Container ของ K8s ซึ่ง Application ก็มีความต้องการใช้ Proocol ที่หลากหลายต่างกัน ก่อนหน้านี้ vSAN ให้บริการ CNS แบบ Block ได้อยู่แล้ว ตอนนี้ก็เลยเพิ่มการใช้งาน CNS บน File Services เข้ามา อันนี้เป็นเหตุผลหลักของ vSAN File Services เลย อันนี้แจ้งกันไว้ก่อนนะครับ : )

แล้วมันเอาไปทำอะไรได้อีกหละ

  • เป็น File Share ให้กับ Traditional Application ที่ทำงานอยู่บน vSAN อยู่แล้ว ที่จะสามารถเรียกใช้ทั้ง Block และ File ได้พร้อมกัน
  • เป็นพื้นที่เก็บ ISO ไฟล์
  • เก็บ Image ของ VMs อย่างเช่นในระบบของ VDI

ฮาๆ ดูแล้ว Usae Case ยังค่อนข้างจำกัดอยู่ แต่ไม่ต้องห่วงครับมันจะพัฒนาขึ้นไปเรื่อยๆแน่นอนครับ เพราะยังไงก็แล้วแต่ vSAN และ VCF อยู่ใน Vision ของ VMware เรื่องของการทำ Hybrid Cloud Multi Cloud อยู่แล้ว Feature ใหม่ๆ จะมาใน 2 Products นี้เสมอ

ก็ประมาณนี้ครับสำหรับ blog นี้ เรื่องของการใช้ File Services ของ vSAN แล้วพบกันใหม่ครับ

--

--

Phubet Pramuean
Phubet Pramuean

Written by Phubet Pramuean

สวัสดีครับ แนะนำตัวกันก่อน ผมชื่อ ภูเบศวร์ ประเหมือน ชื่อเล่นว่า ปอนด์ ครับ ตอนนี้ทำงานที่ NetApp Thailand ในตำแหน่ง Partner Technical Lead ครับ

Responses (1)

Write a response